JMART แจ้งข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์ว่า กลุ่มบริษัท TIS INTEC Inc. (3626:JP) ประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุน J Ventures บริษัทในเครือ JMART มูลค่ากว่า 184 ล้านบาท โดยถือหุ้นร้อยละ 16.67 ใครเป็นใครในดีลนี้? TIS INTEC คือ หนึ่งในบริษัท IT ชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ประกอบธุรกิจการบริหารและเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ โซลูชั่นทางธุรกิจ การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยแบ่งเป็น การให้บริการด้านไอที ไอทีทางการเงิน ไอทีสำหรับอุตสาหกรรม การให้บริการบริหารจัดการระบบงานธุรกิจ (Business Process Outsourcing: BPO) และอื่น ๆ TIS INTEC ทำรายได้ในปี 2020 กว่า 1.47 แสนล้านบาท โดยบริษัทมีนโยบายขยายการลงทุนและร่วมทุนกับหลายบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียน รวมถึงในประเทศไทยด้วย และล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา บริษัทก็ได้ร่วมลงทุนในบริษัท Grab Holding สิงคโปร์ ในจำนวนถึง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ J Ventures คือ บริษัทในเครือ JMART เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีแพลตฟอร์มและเป็น Venture Capital และมีการนำเงินไปลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ทั้งที่เป็น Start-up และที่มีเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาแล้ว บริษัทเป็นผู้สร้างเหรียญ JFIN เพื่อใช้ระดมทุนแบบ ICO เมื่อปี 2018 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ Fintech ที่อยู่บนเทคโนโลยี Blockchain ได้แก่ ระบบกู้ยืมเงิน ป๋า ดอท คอม และยังมี J.ID ที่นำเอาระบบ eKYC การยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัลตามมาตรฐานของ NDID Future Synergy ที่ผ่านมา TIS ได้เริ่มใช้บริการและเทคโนโลยีผ่านทางบริษัท I AM Consulting ซึ่งมีบริษัทลูกที่ลงทุนในประเทศไทย โดยการนำ Marketing AI ของ…
Author: The Enterprise Creative Content Writer
Tool ที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับการออกแบบ UX/UI สำหรับองค์กรในชั่วโมงนี้คงหนี้ไม่พ้น FIGMA ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ Web Application หรือแม้แต่ Mobile Application บทความนี้ The Enterprise จะมาเล่าให้ฟังว่าจริง ๆ แล้ว FIGMA Tool คืออะไร และมี ฟีเจอร์สำคัญ ๆ อะไรบ้างที่จะช่วยให้การออกแบบ Website Application และ Mobile Application ในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากเคยลงเรียนวิชาการเขียนเ Website 101 หรือเคยซื้อหนังสือคู่มือการเขียน Website ด้วยโปรแกรม Dreamweaver (โปรแกรมทำ Websiteจากผู้ผลิต Macromedia ซึ่งภายหลังถูก Adobe ซื้อไป) ตั้งแต่ช่วงแรกที่เทคโนโลยี Website เข้ามามีบทบาท ข่าวร้ายคือความรู้เหล่านั้นไม่สามารถนำมาใช้กับยุคนี้ได้เลย แต่ข่าวดีก็คือในวงการออกแบบ UX และ UI ได้พัฒนาเครื่องมือและ Framework มาให้ใช้งานและสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าการพัฒนา Website ในยุคแรกเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลาเริ่มแรกที่สิ่งพิมพ์เปลี่ยนผ่านจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ บนกระดาษมาสู่หน้า Website และเครื่องมือการออกแบบมาให้ใช้ยังมีจำกัดและคำว่า “ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน — User Experience” ยังไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก นักออกแบบจึงใช้งานเครื่องมือพื้นฐานของการออกแบบงานสิ่งพิมพ์กับงานออกแบบ Website เพียงเท่าที่มีอยู่ เช่น การทำภาพใน Photoshop แล้วนำไปประกอบต่อภายในโปรแกรม Dreamweaver หรือการโยน asset ภาพพวกนี้ไปให้ทางนักพัฒนาดูแลในส่วนของการพัฒนา Website ต่อไป ต่อมาการออกแบบ User Experience เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากคอมพิวเตอร์ไปสู่ Portable device อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ระหว่างทางเทคโนโลยีการออกแบบ UX และ UI เพื่อให้การออกแบบบนสื่อสมัยใหม่อย่าง Screen-based เป็นไปอย่างมีระเบียบ ภาษา Library และเครื่องมือจัดการ Content อย่าง CSS, Bootstrap และ CMS…
ในปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่ทั้งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ต่างก็มีการใช้งานซอฟต์แวร์ Enterprise Resource Planning หรือ ERP กันทั้งนั้น แต่ถึงแม้บริษัทต่าง ๆ จะมีการนำซอฟต์แวร์ ERP มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ แต่ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าไรนัก The Enterprise ขอเสนอเทรนด์การใช้ระบบ ERP เพื่อนำไปปลดล็อกขีดจำกัดและใช้ต่อยอดศักยภาพที่จะช่วยให้บริษัทเติบโตไปได้อย่างมั่นคง On-premises สู่ Cloud-based ERP ในรูปแบบ On-premises นั้นมีข้อจำกัดทั้งเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลที่ยุ่งยากซับซ้อนและขาดความยืดหยุ่น และต้นทุนการใช้งานที่สูง ตั้งแต่การติดตั้งระบบจนไปถึงค่าบำรุงรักษาระหว่างการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้งานระบบ ERP ในรูปแบบของ Cloud Based มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น IaaS หรือ SaaS รวมไปถึงรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปสู่ Remote work ทำให้ ERP Cloud-based ค่อนข้างเหมาะสมกับความต้องการในการเข้าถึงระบบหลักและฐานข้อมูลขององค์กรแบบ real time ได้ทุกที่ทุกเวลา 2. การใช้ AI (Machine Learning) ช่วยทำงาน หรือ Digital Assistance Machine Learning หรือ AI ถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม รวมไปถึงในระบบ ERP เพื่อใช้ในการเรียนรู้ตรวจสอบพฤติกรรมการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นจนสามารถทราบถึงความผิดปกติของธุรกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิม (ถ้ามีข้อมูลมากเพียงพอ) ซึ่งช่วยในการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กร นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถใช้ Machine Learning ในการเรียนรู้ข้อมูลของลูกค้าในอดีตเพื่อคาดการณ์ (Predictive) ว่าลูกค้ารายใดที่มีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยนใจจากการซื้อสินค้าหรือหยุดซื้อสินค้าขององค์กร ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับ Customer Lifetime Value ในการตัดสินใจว่าองค์กรควรดำเนินการอย่างไรกับลูกค้า โดยอ้างอิงข้อมูลจาก McKinsey การใช้ Machine learning ในรูปแบบนี้ช่วยทำให้ลดความเสี่ยงที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจจากผลิตภัณฑ์ขององค์กรได้มากถึง 15% ที่ยกมานี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเท่านั้น การนำ AI มาใช้งาน Digital Assistance ยังมีอีกมาก ซึ่ง The Enterprise จะมาเล่าให้ฟังอย่างละเอียดขึ้นกันอีกทีภายหลัง 3. ERP ควรใช้ได้บนทุกอุปกรณ์…
Microsoft Dynamics 365 และ Oracle NetSuite เป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่มักถูกเลือกใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างชาวไอทีสำหรับองค์กรว่าซอฟต์แวร์ตัวไหนดีกว่ากันหรือควรเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวไหน The Enterprise เองได้เคยแนะนำซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวนี้ และพูดถึงข้อดีข้อเสียคร่าว ๆ แล้วใน ‘5 ERP Systems for SMEs’ แต่เพื่อให้ผู้ที่กำลังมองหาซอฟต์แวร์ ERP และชาวไอทีสำหรับองค์กร ได้เข้าใจฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวนี้มากยิ่งขึ้น The Enterprise ขอเปรียบเทียบกันให้เห็นชัด ๆ แบบหมัดต่อหมัด ถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละซอฟท์แวร์ เพื่อเป็นส่วนช่วยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่ตอบโจทย์องค์กรของคุณก่อนถึงข้อเปรียบเทียบระหว่าง Dynamics 365 และ NetSuite The Enterprise ขอสรุปคุณสมบัติเบื้องต้นของแต่ละซอฟต์แวร์ ดังนี้ Dynamics 365 ERP from Microsoft Microsoft Dynamics 365 เป็น ERP Application สำหรับธุรกิจที่รองรับการเติบโตขององค์กรอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นระบบ CRM, ERP และ HRM เป็นต้น Dynamics 365 และสามารถใช้กับการทำงานของทุกแผนก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายการเงิน ฝ่ายปฏิบัติงาน ฝ่ายภาคสนาม ทีมโปรเจค รวมถึงฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ทำให้ฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ Microsoft Dynamics 365 มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ Cloud และ On-premise แต่ Features และ Function ของการใช้งานทั้งสองแบบจะมีให้เลือกใช้ไม่เท่ากัน โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่: https://docs.microsoft.com/en-us/dynamics365/fin-ops-core/fin-ops/get-started/cloud-prem-comparison Netsuite ERP by Oracle NetSuite ERP เป็นระบบ ERP ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งต่อมาถูก…
เมื่อโรคระบาดส่งผลให้การทำงานนอกบ้านตามปกติต้องหยุดชะงัก และยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจการให้บริการพื้นที่ทำงานที่เคยผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงที่ผ่านมา แต่ธุรกิจต้องเดินหน้าต่อไปหรือทางรอดของเหล่า Start-up คือ Co-working Space และทางรอดของ Co-working Space ก็คือStart-up? Co-working Space คือธุรกิจที่ให้เช่าหรือให้บริการพื้นที่เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น คล้ายกับการนั่งทำงานที่ร้านกาแฟที่มีคนอื่นมาร่วมใช้สถานที่ด้วย แต่ส่วนที่ต่างออกไปคือ Co-working Space จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างครบครัน ทั้งอุปกรณ์สำนักงาน ห้องประชุม อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือแม้กระทั่งมีของว่างให้บริการ โดย Co-working Space บางแห่งยังให้บริการจดทะเบียนบริษัทอีกด้วย Co-working Space นั้นเหมาะสำหรับ start-up หรือธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากกว่า โดยในหลายปีที่ผ่านมา Co-working Space มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง ทั้งจำนวนและการกระจายตัวของพื้นที่ให้บริการ และจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในปีที่ผ่าน Co-working Space ต้องเผชิญอุปสรรคมากมาย ทั้งกฎเกณฑ์การกำกับดูแลจากภาครัฐ การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึง การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน เช่น Microsoft Teams, Google Meet, Zoom และ Slack ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจมีการเติบโตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วน Start-up และธุรกิจขนาดเล็กเองก็กำลังประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก โดยไม่ทันตั้งตัวและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจแล้ว จำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการลดการจ้างงาน การลดเงินเดือนพนักงาน การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเ หรือที่แย่ที่สุดคือการปิดกิจการ แม้ว่าแต่ละธุรกิจจะมีการดำเนินงาน โครงสร้างทางธุรกิจ หรือแม้แต่ต้นทุนที่แบกรับ ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งแรกที่องค์กรส่วนใหญ่มักจะทำเมื่อเกิดวิกฤติ คือ การลดต้นทุนประเภทผันแปร (Variable cost) เพราะเป็นต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย หากยังไม่เพียงพอ องค์กรอาจต้องปรับลดต้นทุนอีกส่วนหนึ่งในระยะเวลาต่อมา นั่นคือ ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ซึ่งโดยหลักคือค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ออฟฟิศ โดยสำหรับ Start-up หรือธุรกิจขนาดเล็ก ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ออฟฟิศถือเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนสูง ดังนั้น ถ้าธุรกิจลดต้นทุนส่วนนี้ด้วยการเปลี่ยนไปใช้ Co-working Space แทนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ข้อดีของ Co-working Space ลดต้นทุนในการเช่าพื้นที่ออฟฟิศลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆมีความยืดหยุ่นในการทำงานจ่ายค่าห้องประชุมเฉพาะเวลาที่ต้องการใช้เดินทางสะดวกสถานที่และบรรยากาศที่เป็นกันเองและให้ความรู้สึกผ่อนคลายระยะเวลาของสัญญาสั้นกว่าการเช่าพื้นที่ออฟฟิศ ในกรณีต้องการระบุขนาดพื้นที่ใช้งานที่แน่นอนให้บริการ Virtual Office เสริมด้วย (บางแห่ง) การเปลี่ยนมาใช้ Co-working…
เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง SAP จับแพลตฟอร์ม Microsoft Teams เข้าผนวกกันแบบไร้รอยต่อหลังจากทนกระแสการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ไหว จากการทำงานแบบ Remote work ที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากผลของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา SAP และ Microsoft Corp จึงได้ประกาศความร่วมมือที่จะรวม Microsoft Teams เข้ากับผลิตภัณฑ์ของ SAP เช่น SAP S/4HANA, SAP SuccessFactors, SAP Customer Experience และระบบอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานและทำให้การทำงานร่วมกันภายในองค์กรมีความลื่นไหลมากขึ้น ในปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่ได้ปรับให้มีการทำงานแบบ Remote work โดยมีนโยบายแตกต่างกันตามแต่ละองค์กรหรือตามลักษณะงาน ทั้งมีการเข้างานแบบสลับกันเข้าออฟฟิศครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งทำงานแบบ Remote work ซึ่งข้อมูลจาก Forbes ระบุว่า การทำงานแบบ Remote work นั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เนื่องจากความเครียดและความกังวลที่เกิดจากจากการเดินทางไปทำงานลดน้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทในระยะยาวได้อีกด้วย แน่นอนว่าการทำงานแบบ Remote work นั้นไม่ได้มีแต่ด้านดีเพียงด้านเดียว ข้อเสียของการทำงานในลักษณะนี้ถือเป็นเรื่องที่มีผลกระทบสำคัญต่อองค์กร เช่น การทำงานร่วมในกันกระบวนการต่าง ๆ การมอบหมายงาน รวมถึงการส่งต่องานให้คนภายในองค์กร ที่ล้วนแต่ต้องใช้การสื่อสารให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน การติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กรด้วย Microsoft Teams ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่การใช้งานร่วมกันระหว่าง SAP และ Microsoft Teams ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับใครหลายคนอย่างแน่นอน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานลื่นไหลขึ้นไม่น้อย หลายท่านอาจจะยังไม่เห็นภาพการทำงานร่วมกันของสองซอฟท์แวร์นี้เท่าไรนัก The Enterprise จึงขอแนะนำแนวทางการนำเอา SAP มาประยุกต์ใช้ร่วมกับ Microsoft Teams กัน จากการทำงานที่โดยปกติจะต้องคอยสลับเปลี่ยนระหว่างสอง application แต่เมื่อ Microsoft Teams และ SAP สามารถใช้งานร่วมกันได้แล้ว จะทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องสลับ application อีกต่อไป ทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้บนมือถือได้อีกด้วยดึงการแบ่งทีมการทำงานตามกลุ่มหน้าที่มาจากสิทธิของระบบ SAP ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันและสื่อสารภายในทีมเดียวกันได้ง่ายมากขึ้น เช่น ผู้ใช้งานสามารถอ้างอิงผ่าน Microsoft Teams ในการส่งต่องานกันได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเข้าระบบ…
ทำความรู้จักระบบ ERP สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก ERP หรือ Enterprise Resource Planning เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในปัจจุบันระบบ ERP มีให้เลือกใช้มากมายหลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะรู้จักแต่ระบบที่เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น SAP หรือ Oracle ในขณะที่ระบบ ERP สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SME กลับยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก The Enterprise จึงขอแนะนำ ERP ที่เหมาะสำหรับธุรกิจ SME ทั้งด้านราคาและความง่ายในการใช้งาน เพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับองค์กรของท่าน 5. Priority Software แค่ชื่อก็ไม่คุ้นแล้ว แต่ Priority Software นั้นค่อนข้างเหมาะกับการใช้งานในธุรกิจ SME ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต การจัดจำหน่าย และ Supply Chain ซึ่ง Priority Software นี้มีฟีเจอร์พื้นฐานของระบบ ERP ครบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ระบบการเงิน การบริหารบุคคล และระบบเวลาเข้างาน อีกทั้งยังมี application ที่สามารถออกแบบส่วนเสริมเพื่อใช้เชื่อมโยงกับระบบ ERP ได้อย่างง่ายดาย แต่ Priority Software ก็ยังมีจุดอ่อน คือ Priority Software นั้นไม่สามารถรวมเข้าใช้งานกับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้ LINK : https://www.priority-software.com/ 4. Sage ERP Sage เน้นทำการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมาเป็นเวลานาน เช่น ซอฟต์แวร์ 100cloud 300cloud และ X3 โดย Sage เหมาะสำหรับธุรกิจด้านการผลิต การจัดจำหน่าย การค้าปลีก การก่อสร้าง และการให้บริการทางวิศวกรรม Sage สามารถใช้ได้ดีในธุรกิจที่กำลังเริ่มขยับขยายด้วย เพราะผลการใช้งานของ Sage ERP นี้จะทำให้องค์กรมองเห็นภาพรวมและพิจารณาถึงสิ่งที่ควรทำเพื่อยกระดับธุรกิจให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น อีกทั้งยังสามารถช่วยควบคุมการปฏิบัติงานและลดต้นทุนได้อีกด้วย LINK : https://www.sage.com/en-us/erp/…
Customer Relationship Management หรือที่หลายท่านรู้จักในชื่อสั้น ๆ ว่า CRM ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ CRM มีให้เลือกนำมาใช้มากมายจากหลายผู้ให้บริการ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีความสามารถและจุดเด่นที่แตกต่างกัน The Enterprise เข้าใจดีว่าการที่เราต้องไปศึกษาข้อมูล CRM ที่มีมากมายกันทีละตัวเพื่อหาตัวเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการการใช้งานของเรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย วันนี้ The Enterprise จึงขอนำเสนอ CRM 5 อันดับแรก* ที่จะช่วยให้ทุกท่านสามารถตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น CRM หรือ Customer Relationship Management เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับบริษัท โดยระบบ CRM นั้นมีความสามารถที่ค่อนข้างหลากหลาย ที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการกระบวนการขายให้สามารถทำการขายได้โดยอัตโนมัติ การจัดการทีมขาย ไปจนถึงการให้คำแนะนำแนวทางการเพิ่มยอดขาย CRM นั้นเป็นส่วนที่สำคัญของบริษัทในการทำ Digital transformation ต่อไปในระยะยาว ***การจัดอันดับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ ส่วนแบ่งการตลาด Function Features ต้นทุนเฉลี่ยรวมในการใช้งาน ความยากง่ายในการใช้งาน และการใช้งานร่วมกันกับระบบ ERP อื่น ๆ *** 5. Oracle CRM Cloud Oracle เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของวงการซอฟท์แวร์สำหรับองค์กร ที่เป็นตัวเลือกหลักขององค์กรขนาดใหญ่ Oracle CRM Cloud ก็นับเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Oracle ที่โฟกัสเรื่อง CRM โดยมีทั้งฟีเจอร์พื้นฐานตั้งแต่ Sales Pipeline, Lead Management และฟีเจอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การจัดการพื้นที่การขาย (Territory Management) การติดตามคอมมิชชั่น (Commission Tracking) และ การวางแผนการขาย ผู้ใช้งาน Oracle สามารถเลือกเปิดฟีเจอร์ใช้งานเพิ่มเติมได้ เช่น การกำหนดราคา ใบเสนอราคา (CPQ) นอกจากนี้ Oracle ยังมีการใช้ Machine Learning ในการเรียนรู้ข้อมูลใน Pipeline เพื่อช่วยแนะนำผู้ใช้งานถึงวิธีการเพิ่มยอดขาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของ Oracle คือยังขาดความอิสระในการเพิ่ม Marketing Automation เนื่องจากยังมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้น้อย…
Highlights การทำงานแบบ Remote work จะเป็น New Normal ด้วยการย้ายระบบการทำงานเกือบทั้งหมดสู่ Cloud แต่อาจจะมาพร้อมกับ ความเสี่ยงทางด้าน Cybersecurity ที่สูงขึ้นองค์กรมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจมากขึ้น รวมถึงการลดการใช้บริการ Outsource ซึ่งอาจทำให้ SI เหนื่อยขึ้นกลยุทธ์ Digital transformation จะสร้างความแตกต่างให้องค์กร แต่ต้องมาพร้อมกับการจัดการที่ชัดเจน The Enterprise ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ปี 2021 ในช่วงปีที่ผ่านมาเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ และการเมืองที่หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ และยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้าน Supply chain อีกด้วย ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในหลาย ๆ การเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา แม้ว่าตอนนี้เราได้ก้าวเข้าสู่เดือนที่สองของปีแล้ว แต่คงไม่ช้าเกินไปที่เราจะอัพเดทเทรนด์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital transformation) และนี่คือ 10 เทรนด์ที่คุณต้องรู้! 10. Remote work จะกลายเป็นเรื่องปกติ Remote work หรือ Work from home ถูกมองเป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักของ Covid-19 แต่ตอนนี้การทำงานแบบ Remote work ดูเหมือนจะยังคงเป็นเทรนด์ต่อไปในระยะยาว เพราะนอกจากจะช่วยลดการแพร่ระบาดของ Covid-19 แล้ว การ Remote work ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย 9. การเร่งนำ Cloud เข้ามาประยุกต์ใช้ ERP หรือ Enterprise Resource Planning และ เทคโนโลยีอื่น ๆ ขององค์กรได้เปลี่ยนผ่านสู่ระบบ Cloud อย่างรวดเร็ว และเทรนด์นี้จะเพิ่มขึ้นเป็นอัตราเร่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยวิธีการทำงานที่เปลี่ยนเป็น Remote Work มากขึ้น การกระจายตัวของ Supply chain ที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่เพียงที่เดียวเหมือนที่ผ่านมา ระบบ Cloud ERP จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น 8. Cybersecurity เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ความเสี่ยงทาง Cybersecurity อาจมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากพนักงานในหลายตำแหน่งหน้าที่อาจไม่มีความรู้ทางด้านความปลอดภัยทาง Cyber มากนัก โดยการเปลี่ยนมาใช้งานระบบ Cloud นั้นอาจเป็นการเพิ่มช่องว่างในการโจมตีของ Hacker มากขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงจากระบบภายในก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน องค์กรจึงจำเป็นต้องเพิ่มระดับความปลอดภัยของระบบและข้อมูลให้มากขึ้น 7. ความยืดหยุ่นคือกุญแจสำคัญ…